Last updated: 9 ต.ค. 2566 |
“เหล็กข้ออ้อย” คือเหล็กเส้นที่ลักษณะพื้นผิวจะมีลักษณะเฉพาะตัวโดยจะมีครีบ และบั้งที่มีความหนา หรือระยะห่างเท่ากันทั้งเส้น ซึ่งจะมีคุณสมบัติช่วยให้สามารถยึดเกาะกับคอนกรีตได้ดีกว่าเหล็กเส้นกลมส่วนใหญ่มักถูกใช้ในงานก่อสร้างโครงสร้างอาคาร หรืองานก่อสร้างที่เสริมความแข็งแรงให้กับคอนกรีต เช่น บ้าน, อาคาร, สะพาน, เขื่อน, คาน, เสา, พื้นถนน และงานก่อสร้างที่มีการรับแรงมากๆ
เหล็กเส้นข้ออ้อยที่ใช้ในการก่อสร้างในปัจจุบันหลักๆจะมีทั้งหมด 3 ประเภท ประกอบด้วยเหล็กเส้นข้ออ้อย SD30, SD40, และ SD50 ซึ่งทั้งสามประเภทที่กล่าวมานั้นจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของการรับแรงดึง และควมเหมาะสมในการใช้งานที่แตกต่างกันไป
เหล็กข้ออ้อยที่สามประเภทนี้เป็นเหล็กข้ออ้อยในลักษณะเดียวกัน โดยจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 10-40 มิลลิเมตร และจะต้องถูกผลิตภายใต้มาตรฐานอุตสาหกรรม(มอก.) 24-2548 หรือ 24-2559 ซึ่งเหล็ก SD30, SD40 และ SD50 ก็ไม่ได้เหมือนกันในทุกเรื่องแต่จะมีความแตกต่างกันในเรื่องค่าการรับแรงดึงที่จุดครากมีค่าในการคำนวนคือ กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร ยกตัวอย่างเช่น เหล็ก SD50 จะเป็นเหล็กเส้นที่มีคุณสมบัติในการรับแรงดึงที่จุดครากไม่น้อยกว่า 5,000 กก./ตร.ซม.
สังเกตุจากด้านข้างของเหล็กเส้นข้ออ้อยจะมีการปั้มสัญลักษณ์ตัว “T”ต่อจากจากเกรดเหล็ก เช่น SD40T ซึ่งมีความหมายว่าเป็นเหล็กเส้นข้ออ้อยที่ผลิตด้วยกรรมวิธีรีดร้อน (Heat Treatment หรือ Tempcored Rebar) หรืออธิบายได้อีกอย่างคือ เหล็กเส้นข้ออ้อยที่ผ่านกระบวนการผลิตตามมาตรฐานปกติถูกนำมาให้เย็นตัวเร็วกว่าปกติโดยการฉีดสเปรย์น้ำจึงได้เหล็กเส้นที่มีสมบัติทางกลที่ต้องการ
เปรียบเทียบเหล็กเส้นข้ออ้อย มี T และไม่มี T?
สนใจสอบถาม-สั่งซื้อได้ที่
Line Official: @navasiam
โทร : 02-738-9999
098-638-9299 (อู๋)
083-080-1661 (เกด)
ที่อยู่: 77 หมู่ 5 ถ. กิ่งแก้ว ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี สมุทรปราการ 10540
18 ก.ย. 2567
2 ส.ค. 2567
28 พ.ค. 2567